รู้จัก Carbon Credit ทางลัดสู่ Carbon Neutrality ให้ทันตามเป้าหมายองค์กร

by staff

การขับเคลื่อนธุรกิจไทยควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมลดก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน สามารถเริ่มต้นจากการประเมิน Carbon Footprint ของบริษัท สู่การลดกระบวนการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป แต่หากยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ไม่ได้ GMS Solar มีทางออกให้ธุรกิจของคุณ ที่สามารถหาวิธีชดเชยการปล่อยก๊าซฯให้เหลือศูนย์ได้ทันเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งจะช่วยให้คุณเข้าใจกลไกตลาดคาร์บอนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้องค์กรของคุณสามารถพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนได้เอง มาร่วม Set Zero มุ่งเป้าสู่ Carbon Neutrality ลดปริมาณคาร์บอนให้เหลือศูนย์ไปด้วยกัน

ก่อนอื่น… อยากให้ทุกคนเข้าใจความหมายของศัพท์ในวงการธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม 

ซึ่งทั้ง 3 คำนี้เป็นกลไกที่เชื่อมโยงกันอยู่ เรียกว่ามาคู่กันเลยเพราะถ้าไม่มีก๊าซคาร์บอน ก็จะไม่มี “Carbon Offset” หรือ“Carbon Credit” และก็จะไม่มี “Carbon Market” เกิดขึ้นนั่นเอง เรามาลองทำความเข้าใจแบบสรุปง่ายๆ ไปพร้อมกัน

  • Carbon Offset การชดเชยคาร์บอน คือ กระบวนการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ ซึ่งสามารถทำได้เองผ่านปรับเป็นพลังงานทางเลือก หรือซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากบริษัทอื่นๆ
  • Carbon Credit คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่บุคคลหรือองค์กรได้รับจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟรุตพรินต์) ในแต่ละปี ซึ่งเกิดจากการสร้างโครงการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การปลูกป่า การสร้างโรงงาน biogas หรือการใช้พลังงานโซลาร์ เป็นต้นซึ่งปริมาณคาร์บอนที่สามารถนำมาตีราคา โดยปริมาณก๊าซฯที่สามารถลดสามารถนำไปคำนวณเป็น 1 ตันคาร์บอนเทียบเท่า =  1 คาร์บอนเครดิต ถึงจะนำไปจำหน่ายในรูปแบบคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการได้ 
  • Carbon Market ตลาดซื้อขายคาร์บอน คือ พื้นที่กลางสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อ–ขาย คาร์บอนเครดิต ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กระตุ้นให้ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน โดยให้มูลค่ากับปริมาณที่ลดคาร์บอนลงได้ หากบริษัทไหนลดคาร์บอนได้มากก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงินให้ธุรกิจได้เช่นกัน เรียกได้ว่า
“ยิ่งลด(คาร์บอน)มาก ยิ่งได้(รายได้)มาก” อีกทั้งยังได้ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นควบคู่กันไปอีกด้วย

เริ่มเข้าใจกลไกตลาดคาร์บอนกันแล้วใช่ไหมคะ? คราวนี้เรามาเจาะลึกถึงภาพรวมตลาดไทยและตลาดโลกกันดีกว่าค่ะ

ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) 

เป็นกลไกในการช่วยสร้างแรงจูงในทางด้านการเงิน ตอบรับกับขั้นตอนการประเมินโครงการและการลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ผ่านการซื้อขายปริมาณที่แต่ละบริษัทลดปริมาณคาร์บอนลงได้ ผ่านแพลตฟอร์มที่ได้รับมาตรฐาน โดยที่ราคาซื้อขายนั้นเป็นไปตามกลไกตลาด โดยคาร์บอนเครดิต(Carbon Credit) จะถูกนำไปคิดรวมในบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่างๆ ทั้งประเทศผู้ขายและประเทศผู้ซื้อ คาร์บอนเครดิตเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่มีการดำเนินโครงการ

ตลาดคาร์บอนมี 2 ประเภท

1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Regulated Market)

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Regulated Market) เป็นตลาดคาร์บอนเครดิตที่ได้จากพิธีสารเกียวโต แบ่งเป็น 3 กลไก 

1.1 กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM)

เป็นกลไกที่เปิดโอกาสให้มีความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่มีพันธกรณีกับประเทศที่ไม่มีพันธกรณีได้ร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นการดำเนินงานด้วยความสมัครใจ โดยได้รับความเห็นชอบจากประเทศภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประเทศผู้ลงทุน ประเทศที่โครงการตั้งอยู่ (Host Country) และยังเปิดโอกาสให้การพัฒนาโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลตอบแทนในทางเศรษฐศาสตร์ที่ดีขึ้นในรูปแบบของโครงการ CDM ด้วย

โดยที่ CERs (Certified Emission Reductions) คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่โครงการ CDM สามารถลดได้ และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM Executive Board) เรียกโดยย่อว่า CDM EB โครงการ CDM ต้องเป็นการดำเนินงานโดยความสมัครใจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติม จากการดำเนินการทั่วไป และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศทั้งในแง่ของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี

1.2 การดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI)

เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศ ในกลุ่มภาคผนวกที่ 1* ด้วยกันเองเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรการที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้วในสภาวะธุรกิจปกติ โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงของโครงการในกลไก JI จะเรียกว่า Emission Reduction Units (ERUs) ซึ่งมีค่าเทียบเท่ากับ 1 ตันคาร์บอร์ไดออกไซด์

1.3 การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emissions trading : ET)

เป็นกลไกที่มีเอื้อให้เกิดการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับจัดสรรระหว่างประเทศในกลุ่มภาคผนวก 1* เนื่องจากประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีในภาคผนวก 1* มีพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศแตกต่างกัน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต้องควบคุมตามกลไกนี้ เรียกว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการจัดสรรและอนุญาตให้ปล่อย (assigned amounts units: AAUs)

โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2008 และสิ้นสุดในปี 2012 ประเทศที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามพันธกรณี สามารถเข้าสู่กลไก ET เพื่อซื้อ CERs และ ERUs ได้ นอกจากนี้ ประเทศหรือกลุ่มของประเทศก็สามารถพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับท้องถิ่นของตนเองได้เพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศ การซื้อ CERs และ ERUs ผ่านกลไก ET สามารถซื้อเพื่อครอบคลุมปริมาณการปล่อยก๊าซบางส่วนหรือทั้งหมดได้

*ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 มีจำนวน 41 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, กรีซ, โรมาเนีย, ฮังการี, รัสเซีย,เบลารุส, ไอซ์แลนด์, สโลวาเกีย, เบลเยียม, ไอร์แลนต์, สโลวีเนีย, บัลแกเรีย, อิตาลี, สเปน, แคนาดา, ญี่ปุ่น, สวีเดน, โครเอเชีย, ลัตเวีย , สวิตเซอร์แลต์, เช็ก, ลิกเตนสไตน์, ตุรกี, เดนมาร์ก, ลิทัวเนีย, ยูเครน, เอสโตเนีย, ลักเซมเบิร์ก, บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ, ประชาคมเศรษฐกิจแห่งยุโรป, โมนโก, สหรัฐอเมริก, ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, นิวซีแลนด์, เยอรมนี, นอร์เวย์, โปรตุเกส, โปแลนด์

2. ตลาดแบบสมัครใจ (Voluntary Carbon Market : VCM) 

เป็นตลาดซื้อและขายการออกใบรับรองคาร์บอนเครดิตของตลาดแบบสมัครใจ หรือ Verified Emission Reductions (VERs) ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโครงการที่ดำเนินการโดยสมัครใจที่ได้รับการรับรองแล้วโดยหน่วยงานที่ออกมาตรฐาน เช่น Gold standard, VCS อยู่นอกเหนือระบบคาร์บอนเครดิตของ UNFCCC  ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีความยืดหยุ่นมากกว่าและใช้ต้นทุน โดยที่ในประเทศไทยองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก. เป็นองค์กรที่รับรอง

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกและจดทะเบียนคาร์บอนเครดิตที่ชื่อว่า T-VER  ปัจจุบันในประเทศไทยสามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่าน Over the counter (OTC) กล่าวคือ ซื้อโดยตรงกับผู้ขายเครดิต ซึ่งท่านสามารถติดต่อ GMS Solar ในการให้บริการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้เช่นกัน ไม่มีพันธะตามกฎหมายกับโครงการใดเปิดรับผู้ซื้อจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยสามารถซื้อขายได้ไม่มีการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (No cap-and-trade system)

carbon-market
มูลค่าการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตแบบ VCM ทั่วโลก [ EcosystemMarketplace ]

Carbon Offset วิธีชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจก

Carbon Offset คือการจัดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การลดการปล่อยก๊าซฯด้วยตัวเอง (Reduce GHGs) และการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชย (Carbon Credit) ซึ่งหากชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เท่ากับศูนย์ จะเรียกว่า Carbon Neutrality

Carbon-Offset-vs-Carbon-Neutral

ซึ่งบริษัทสามารถนำโครงการ Carbon Offset ยื่นตรวจสอบมาตรฐาน เพื่อเสริมความเชื่อมั่นของลูกค้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์ว่าเป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างจริงจัง เช่น การเข้าถึงสุขภาพและการศึกษาที่ดีขึ้น ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และความเจริญรุ่งเรืองทางสังคมและเศรษฐกิจ

Carbon Offset แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการประหยัดพลังงาน เช่น แหล่งพลังงานหมุนเวียน (พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์)
  2. หลีกเลี่ยง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การปกป้องป่า หรือที่เรียกว่าโครงการ REDD+ (Reducing Emissions from Deforestation and Degradation) คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทําลายป่า และการทําให้ป่าเสื่อมโทรม
  3. กำจัด ก๊าซเรือนกระจกโดยวิธีการธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า การปลูกป่า และการปลูกป่า ( Afforestation, Reforestation and Revegetation : ARR) หรือ การใช้เทคโนโลยีดักจับอากาศโดยตรงและการเก็บกักคาร์บอน (Direct Air Capture and Carbon Storage : DACCS)3

Carbon Credit คืออะไร

สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี ซึ่งหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็สามารถนำไปวัดปริมาณ Carbon Credit เพื่อซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ หากจะให้เข้าใจง่ายๆก็คือ จำนวนคาร์บอนที่แต่ละองค์กรสามารถลดได้ต่อปีและหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์จะถูกตีราคาเป็นเงิน ก่อนจะถูกขายเป็นเครดิตให้กับองค์กรอื่นได้

องค์กรต่างๆสามารถจัดทำโครงการคาร์บอนเครดิตได้เองหรือไม่

ทำได้ แต่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใช้เพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตนั้น ๆ ต้องขึ้นทะเบียนและผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อบก. (กรณีที่ซื้อขายคาร์บอนเครดิตกับบริษัทภายในประเทศไทย) โดยมีมาตรฐานดังต่อไปนี้

  • T-VER : Thailand Voluntary Emission Reductions คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย โดยที่มีที่ อบก.(TGO) พัฒนาขึ้น ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology) การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการลด/ ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย ปัจจุบันการซื้อขายสามารถทำได้ในไทยเท่านั้น
ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต

หากต้องการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกับต่างประเทศ ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการยอมรับสูงและมีความนิยมในการซื้อ-ขายเยอะที่สุดทั่วโลก ได้แก่

  • VERRA : The Verified Carbon Standard
    โครงการชดเชยคาร์บอนโดยสมัครใจที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบัน เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการรับรองมากกว่า 1,806 โครงการ ซึ่งร่วมกันลดหรือขจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวมกว่า 928 ล้านตันคาร์บอน นับตั้งแต่ปี 2006-2022
  • GS : Gold Standard
    โครงการชดเชยโดยสมัครใจหรือที่เรียกว่า Gold Standard Verified Emission Reduction หรือ VER มุ่งเน้นไปที่โครงการชดเชยที่ให้ผลประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สามารถใช้ได้กับทั้งโครงการชดเชยโดยสมัครใจและโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM)
    • ซึ่งโครงการชดเชยคาร์บอนต้องมีส่วนร่วมอย่างน้อย 3 ใน 17 ของ UN SDGs จึงจะได้รับการรับรอง หากต้องการนำโครงการคาร์บอนเครดิตรับรองมาตรฐานอื่นๆข้างต้นด้วย ก็สามารถใช้หมวดหมู่เหล่านี้ได้
      • พลังงานหมุนเวียน
      • ปลูกป่าและ
      • โครงการบริการชุมชน (การจัดการขยะ)
  • CDM : Clean Development Mechanism ตามมาตราที่ 12 ของพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า CDM ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้มีความร่วมมือกันระหว่างประเทศที่มีพันธกรณีกับประเทศที่ไม่มีพันธกรณีได้ร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
โครงการลดก๊าซเรือนกระจก-T-ver
รายละเอียดมาตรฐาน T-VER และสัดส่วนการใช้มาตรฐานระดับสากล [ cr. Krungthai ]

กลไกด้านราคาคาร์บอน Carbon Pricing 

  การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทยมีมากน้อยแค่ไหน

  • ปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ในไทยช่วง 8 เดือนแรกของปี 2022 ซื้อขายมากขึ้นถึง 425% เมื่อเทียบกับปี 2021
  • หากพิจารณาในเชิงมูลค่า ก็พบว่าขยายตัวสูงถึง 1,228% ทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตปรับตัวสูงมากขึ้นจากปี 2021 ที่เฉลี่ย 34 บาทต่อตันคาร์บอน เป็น 107 บาทต่อตันคาร์บอน
โครงการลดก๊าซเรือนกระจก-T-ver
CR. Krungthai

แนวโน้มราคาคาร์บอนเครดิตแสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงรัฐบาลไทยเริ่มมีนโยบายให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่เข้าร่วมใน COP26 ที่ประกาศไว้กับประชาคมโลกว่าจะเป็นประเทศ Carbon Neutrality ภายในปี 2050 ซึ่งความน่าสนใจของตลาดคาร์บอนเครดิตคือ
1. โครงการคาร์บอนเครดิตในไทย ทำได้ง่าย มีผู้ขายหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์, โรงงานโซล่าเซล เป็นต้น ที่วัดผลพลังงานธรรมชาติได้ชัดเจน และสามารถนำไปรายงานกับ อบก. เพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงทำให้มีผู้ขายหน้าใหม่กระโดดเข้ามาในตลาดคาร์บอนนี้ เช่น โรงงานโซล่าฟาร์ม ที่จัดการลด Corporate Carbon Footprint ได้จนเหลือศูนย์ และยังมีพลังงานสะอาดเหลือเพื่อขายต่อได้อีก
2. ความต้องการซื้อจากบริษัทต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งบริษัทเหล่านี้อาจมีนโยบายจากบริษัทแม่ที่มีนโยบาย Carbon Neutrality ก็จะส่งผลให้บริษัทข้ามชาติที่อยู่ในไทยมีความต้องการซื้อ Carbon Credit มาชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจก Overall ทั้งองค์กรของเขาให้ปริมาณคาร์บอนลดลงให้เหลือศูนย์

3. บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ในประเทศไทยเริ่มตั้งเป้าหมายเป็น Carbon Neutralrity ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมองหา Carbon Credit เพื่อเป็นทางเลือกในการชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ทันตามเป้าหมายที่แต่ละบริษัทวางไว้ สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการซื้อ Carbon Credit ที่เพิ่มสูงขึ้นในไทย

  โอกาสเติบโตของ Carbon Credit หรือถ้าเทียบให้เห็นภาพก็สามารถเรียกได้ว่าเป็น Carbon Trading ที่ใครยิ่งลดคาร์บอนได้มาก ก็มีโอกาสในการขายมากเช่นกัน(สร้างมูลค่าผ่านการลดคาร์บอน) โดย Demand มาจากบริษัทที่ปล่อยมลพิษมากก็จะเป็นผู้ซื้อ

ประโยชน์ของตลาดคาร์บอนเครดิตสำหรับธุรกิจในไทย

  • ต้นทุน Carbon Pricing ในไทยยังราคาไม่สูงนั้น เป็นที่ต้องการซื้อของบริษัทต่างชาติ
  • ผันแปรมูลค่าการลดคาร์บอนเป็นสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ผลักดันราคาคาร์บอนเครดิตให้เทียบเท่าระดับสากล
  • เร่งลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยผลักดันนโยบาย Carbon Neutrality
  • เสริมความน่าเชื่อถือ ด้านภาพลักษณ์ธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อม

หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ตลาดคาร์บอน, คาร์บอนเครดิต, การชดเชยคาร์บอนในรูปแบบต่างๆ ติดต่อ GMS Solar ได้ทันที เรามีบริการครอบคลุม ตั้งแต่ให้คำปรึกษา, รับพัฒนาโครงการ, ซื้อขายคาร์บอนเครดิต, ซื้อขายผลิตภัณฑ์พลังงานทางเลือก, ร่วมถึงขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่ Carbon Neutral และ NetZero Emission ตามเป้าหมายสากล ผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้

service-gmssolar
  1. Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
  2. Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
  3. Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
  4. Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
  5. Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน

You may also like