ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน พัฒนาธุรกิจและสังคมร่วมกันด้วยนโยบาย SDGs

by staff

ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก หลังจากที่โลกเผชิญกับวิกฤตในความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวองค์กรสหประชาชาติได้มีการกำหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนผ่านความตกลงปารีส (Paris Agreement) ทำให้บริษัทต่างๆทั่วโลกให้ความร่วมมือเป็นเป็นอย่างดี โดยนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) มาปรับใช้ร่วมกับการขับเคลื่อนธุรกิจ

Paris Agreement คืออะไร

ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change  : UNFCCC) ซึ่งเป็นเวทีการเจรจาระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งไทยได้เข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 

ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของ UNFCCC ครั้งที่ 21 หรือที่เรียกว่า ประชุม COP 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558 โดยเป็นตราสารกฎหมายที่รับรองภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC ฉบับล่าสุด เพื่อกำหนดกฎกติการะหว่างประเทศในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  [Ref Bualuang, UNFCCC]

ความตกลงปารีสประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ การดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) การรับมือกับความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and damage) และการยกระดับการให้การสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพ (Means of Implementation: Finance, Technology development and transfer, and capacity-building)

พร้อมทั้งวางกรอบเพื่อรับรองความโปร่งใสของการดำเนินงานและการสนับสนุน (Transparency of action and support) และกำหนดให้มีการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) เพื่อประเมินความก้าวหน้าต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายระยะยาวของความตกลงนี้

โดยมีวาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมการอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส(จากอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม) โดยคำนึงว่าการดำเนินการตามนี้ จะลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีนัยสำคัญ
  2. เพิ่มขีดความสามารถในการปรับลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดผลกระทบและสร้างเร่งการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมหาหนทางการปล่อยก๊าซฯในประมาณต่ำโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดต่างๆในการทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง
  3. ทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนที่มีความสอดคล้องกับแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เช่น ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องสนับสนุนเงินทุนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศกำลังพัฒนา
  4. ทุกๆ 5 ปี แต่ละประเทศจะต้องอัปเดตข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกันตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศสมาชิกภาคิสหประชาชาติ

ในด้านการลดก๊าซเรือนกระจก มีเป้าที่จะมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกในปริมาณมากในระยะเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Global Peaking) และหลังจากนั้นจะดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกลงอย่างรวดเร็ว ตามวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่าง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการกำจัดโดยการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งแนวทางการดำเนินตามมาตรการดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

ความตกลงปารีส อนุมัติให้ร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศได้ 

ประเทศที่พัฒนาแล้วควรยังคงความเป็นผู้นำ โดยจัดทำเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จริงและครอบคลุมทุกภาคเศรษฐกิจ (Economy-wide Absolute Emission Reduction Targets) ประเทศกำลังพัฒนา ควรยกระดับความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจกและได้รับการส่งเสริมเพื่อมุ่งสู่การจัดทำเป้าหมายการลดหรือจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ครอบคลุมทุกภาคเศรษฐกิจ (Economy-wide Emission Reduction or Limitation Targets)

นอกจากนี้ความตกลงปารีสได้รับรองการใช้แนวทางความร่วมมือโดยสมัครใจที่มีการใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศ  โดยแต่ละประเทศจะต้องดำเนินงานสอดคล้องกับคำแนะนำที่รับรองโดยที่ประชุมสหประชาชาติตามความตกลงปารีส (The Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Paris Agreement: CMA) และได้จัดตั้งกลไกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDGs คืออะไร

SDGs-คืออะไร-gmssolar

SDGs หรือ Sustainable Development Goals (เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) เป็นเป้าหมายที่องค์กรสหาประชาชาติได้กำหนดสำหรับ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นกรอบการดำเนินงานของประชาคมโลก เพื่อให้ทุกภาคส่วนนำไปปฏิบัติโดยประกอบด้วย 17 เป้าหมายหลัก เป็นมาตราฐานในการดำเนินงาน ติดตามผล และชี้วัดความก้าวหน้าของการพัฒนาโครงการต่างๆที่เข้าร่วม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ประเทศต่างๆนำไปปรับใช้หรือลำดับความสำคัญในการพัฒนาประเทศหรือองค์กรของตนเอง

SDGs 17 เป้าหมายมีอะไรบ้าง?

  • เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจน (No Poverty) ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่
  • เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 3 สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย
  • เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
  • เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง 
  • เป้าหมายที่ 6 น้ำสะอาดและสุขาภิบาล (Clean Water and Santation) สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดและจ่ายได้ (Affordable and Clean Energy) สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา
  • เป้าหมายที่ 8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work Economic Growth) ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพและการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
  • เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรมนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและส่งเสริมนวัตกรรม
  • เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities) ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  • เป้าหมายที่ 11 ชุมชนและเมืองที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communites) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน 
  • เป้าหมายที่ 12 การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบ (Responsibile Consumption and Production) สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 13 การดำเนินการทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
  • เป้าหมายที่ 14 สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ (Life Below Water) อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • เป้าหมายที่ 15 สิ่งมีชีวิตบนบก (Life On Land) ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ยับยั้งการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เป้าหมายที่ 16 ความสงบสุข ความยุติธรรม และการมีสถาบันเข้มแข็ง(Peace, Juctice and Strong Instisutions) ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
  • เป้าหมายที่ 17 การเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for The Goals) เสริมความเข้มแข็งให้กับกลไกการดำเนินงานและความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประเทศไทยและประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ได้ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อผลักดันการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมสู่การยกระดับด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในปี 2030 [Ref : pmdu] ในแต่ละประเทศหรือบริษัทต่างๆ สามารถเลือกปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจของตนเองได้ 

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท GMS Solar เป็นบริษัทที่พัฒนาด้านพลังงานสะอาด จึงต้องการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมุ่งเน้นที่เป้าหมาย 13 การดำเนินการทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) เพื่อกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านสินค้าและบริการของบริษัทฯ 

ร่วมพัฒนาภูมิอากาศ ด้วย SDGs เป้าหมายที่ 13

[ Ref UN ]

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นคำเตือนสำคัญของของมนุษยชาติ “Red Code Warning”  ซึ่งกิจกรรมของมนุษย์ทำให้สภาพอากาศร้อนขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ ในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน ในช่วง 2,000 ปีที่ผ่านมา ตามรายงานของ IPCC รายงานการประเมินฉบับที่ 6 ส่งสัญญาณเตือนภัยอย่างเร่งด่วนและวิธีการแก้ไข

กุญแจสำคัญ SDGs Goal 13 ทางออกของโลกที่ยั่งยืน

SDGs Goal 13 หรือ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้ [ Ref : SDGmove

เป้าประสงค์ภายใต้เป้าหมายที่ 13

13.1 เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ

13.2 บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ

13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ และการเตือนภัยล่วงหน้า

13.a ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกมัดต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อจะแก้ปัญหาความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนาในบริบทของการดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญและมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน และทำให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินงานอย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุดผ่านการให้ทุน (capitalization)

13.b ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชนและชุมชนท้องถิ่นและชายขอบ

ซึ่งองค์กรต่างๆ สามารถนำเป้าประสงค์ของ SDGs Goal 13 ไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละองค์กร เพื่อร่วมกันลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุนแรงและความสูญเสียต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

 

You may also like